วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

GAP analysis

Gap Analysis - S 1 : SSI Prevention

Recommendation
Actual Practice
Desired Practice
Action Plan
1. สำหรับผู้ป่วย elective surgery ให้ค้นหาและรักษาการติดเชื้อทุกอย่างที่เกิดขึ้นห่างจากตำแหน่งที่จะผ่าตัด และเลื่อนการผ่าตัดไปจนกว่าการติดเชื้อจะหมดไป
 - ยังมีการค้นหาและรักษาการติดเชื้อไม่ครอบคลุม

-  แนวทางการปฏิบัติในผู้ป่วยทุกรายที่จะทำการผ่าตัด ต้องได้รับการประเมินภาวะติดเชื้อทุกระบบในร่างกาย ก่อนผ่าตัดทุกราย
- ประสานองค์กรแพทย์แจ้งให้แพทย์ที่ทำผ่าตัดทุกท่านทราบ
- เฝ้าระวังการติดเชื้อในแผลผ่าตัดทุกเดือน
- ส่งข้อมูลการติดเชื้อให้องค์กรแพทย์ทราบผ่านระบบรายงานความเสี่ยงของรพ.
2. ไม่กำจัดขนก่อนผ่าตัด ยกเว้นว่าขนที่บริเวณผ่าตัดจะรบกวนต่อการทำผ่าตัด  ถ้าต้องกำจัดขน ให้ทำทันทีก่อนผ่าตัด และควรใช้ electric clipper
-  มีการกำจัดขนก่อนผ่าตัดที่หอผู้ป่วย
-  แพทย์สั่งการรักษาให้มีการโกนขนก่อนผ่าตัดเป็น Routine Pre- op
- มีการใช้ใบมีดโกนแบบธรรมดาในการโกนขนก่อนผ่าตัด
- ไม่โกนขนก่อนผ่าตัดเป็น Routine
Pre- op ทุกรายที่หอผู้ป่วย
- หากต้องมีการโกนขนก่อนผ่าตัดให้ปฏิบัติทันทีก่อนผ่าตัด โดยปฏิบัติที่ห้องผ่าตัด
-ใช้ Electric clipper ในการโกนขนทุกราย
- แจ้งองค์กรพยาบาล เพื่อให้ส่วนที่เกี่ยวข้องได้แก่ หอผู้ป่วย , ห้องฉุกเฉิน และห้องผ่าตัด  ได้รับทราบในการปฏิบัติเรื่องการโกนขนก่อนผ่าตัดเป็นแนวทางเดียวกัน
- เสนอความต้องการจัดหา Electric  clipper ไว้ประจำที่ ห้องผ่าตัด
3. ให้ prophylactic antibiotic เฉพาะเมื่อมีข้อบ่งชี้ โดยเลือกให้เหมาะสมกับเชื้อที่มักจะพบบ่อยสำหรับการผ่าตัดนั้นๆ  โดยให้ทางหลอดเลือดดำในเวลาที่ทำให้มีระดับยาในซีรั่มและเนื้อเยื่อสูงพอสำหรับกำจัดเชื้อโรค (bactericidal concentration) เมื่อขณะลงมีดผ่าตัด  ให้รักษา therapeutic level ของยาไว้ตลอดการผ่าตัด
- กรณีผ่าตัดทางกระดูกและข้อ และผ่าตัดทั่วไปแพทย์จะให้ยา prophylactic antibiotic  ทุกรายที่มีการผ่าตัดเหมาะสมกับเชื้อที่พบบ่อยสำหรับการผ่าตัดนั้นๆ และให้หลังจากผ่าตัด
                                          
-
- ติดตามอัตราการติดเชื้อในแผลผ่าตัดทุก  
  เดือน


Gap Analysis - S 1: SSI Prevention

Recommendation
Actual Practice
Desired Practice
Action Plan
และหลังผ่าตัดเสร็จสิ้นอีก 2-3 ชั่วโมง  สำหรับการผ่าตัดคลอดที่มีความเสี่ยงสูง จะให้ antibiotic ทันทีหลังจาก clamp สายสะดือ
- กรณีผ่าตัดคลอดทั่วไปได้แก่ Previous Cesarian  Section จะไม่ให้ antibiotic ก่อนผ่าตัด
- กรณีผ่าตัดคลอดที่มีความเสี่ยงสูงได้แก่ น้ำเดิน หรือสงสัยว่ามีการติดเชื้อ แพทย์จะพิจารณาให้ ยา antibiotic ทันทีหลังจาก Clamp สายสะดือทุกราย
-  พยาบาลวิสัญญีเป็นผู้ให้ยา antibiotic ก่อนผ่าตัดทั่วไป ไม่เกิน 30 นาที ก่อนลงมีดผ่าตัด และในกรณีผ่าตัดคลอดจะให้ antibiotic ทันทีหลังจาก clamp สายสะดือ

- ไม่มี



Service  Profile  ปี 2553  ( 1 ต.ค. 52 30 พ.ค. 53 )
งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ รพ.รร.จปร.
1.       บริบท (  Context )
งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โดยมี
วิสัยทัศน์ :  มีการดำเนินงานเฝ้าระวัง  ป้องกันและควบคุมการติดเชื้อให้ได้ตามมาตรฐาน   
                   อัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาลลดลง

พันธกิจ :  1.    ดำเนินการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง
   2.   วิเคราะห์ข้อมูลจากการเฝ้าระวังโดยวิธีการทางระบาด
   3.   ใช้ข้อมูลจากการเฝ้าระวังในการตัดสินใจดำเนินการพัฒนาคุณภาพงาน IC.
   4.    บุคลากรสุขภาพปฏิบัติงานได้โดยยึดหลัก Standard  Precautions.
    5.    พัฒนาและฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและ
           ควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลอย่างสม่ำเสมอ
     นโยบาย:
                         1.   ผู้ป่วยทุกรายได้รับการเฝ้าระวังการติดเชื้อแบบ Hospital  wide  surveillance  และ
                             แบบ Targeted   surveillance  และ Post  Discharge
                         2.   บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อใน
                             โรงพยาบาลในส่วนที่เกี่ยวข้อง และปฏิบัติตามแนวทาง / มาตรการในการ
                              ป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ
3.       บุคลากรได้รับการดูแลสุขภาพและส่งเสริมสุขภาพอย่างเหมาะสม
4.       มีการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อในโรงพยาบาลอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.       มีการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อม โดยเน้นคุณภาพระบบบำบัดน้ำเสีย  คุณภาพน้ำดื่ม-น้ำใช้ และควบคุมการกำจัดขยะมูลฝอยติดเชื้อ
6.       การจัดการทรัพยากรให้คุ้มค่าและควบคุมการใช้ยาต้านจุลชีพให้เหมาะสม
7.       มีการควบคุมการรระบาด

  เป้าหมายในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล
1.       เฝ้าระวังการติดเชื้อในผู้ป่วย
2.       เฝ้าระวังสุขภาพของบุคลากรในหน่วยงาน
3.       เฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล

วัตถุประสงค์
                1.   พัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาลให้ได้มาตรฐาน  โดยส่งเสริมศักยภาพในการ
                    ให้บริการแก่เจ้าหน้าที่ทุกระดับ
                2.   ลดอัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาลในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง
                3.    ดูแลและส่งเสริมสุขภาพของเจ้าหน้าที่
                4.     พัฒนาเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและควบคุมการติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง
                5.     มีระบบการจัดการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อ
                      ผู้รับบริการ
                6.     ประเมินประสิทธิภาพวิธีปฏิบัติต่างๆ ตามมาตรฐาน อันเป็นแนวทางนำสู่การพัฒนา
                      งานบริการให้มีคุณภาพ

                ในปีงบประมาณ2552 ( 1 ต.ค.51 - 30ก.ย. 52)   มีระบบการเฝ้าระวังแบบ Hospitalwide surveillanceและ Targeted  surveillance ในผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะทุกรายเนื่องจากในปีงบประมาณ 2551 อัตราการติดเชื้อ CAUTI 9.70 ครั้ง/1000วันคาสายสวนฯ ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญของรพ.  หลังจากนั้นมีการรณรงค์ให้ความรู้และติดตามการปฏิบัติตามาตรการป้องกันการติดเชื้อ CAUTI  พบว่าอัตราการติดเชื้อ CAUTI ในปีงบประมาณ 2552  ลดลงเหลือ 0 ครั้งต่อ 1000 วันคาสายสวนฯ และ อัตราการเกิด Phlebitis จากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ    ส่วนปัญหาการติดเชื้อในปี 2552 พบว่ามีการติดเชื้อในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดและยังพบการเกิด Phlebitis แต่ไม่พบการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ จึงได้มีการพัฒนาระบบเฝ้าระวังเป็นแบบ Target  surveillance  และมีระบบการเฝ้าระวังในผู้ป่วยหลังจำหน่าย  โดยมีการดำเนินการเฝ้าระวังในตำแหน่งแผลผ่าตัด , การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะและ Phlebitis เช่นเดิม

                การจัดองค์กรและการบริหาร
                โครงสร้างการบริหารงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล   มีพยาบาลควบคุมการติดเชื้อที่ปฏิบัติ Part time จำนวน 1 คน โดยจบหลักสูตร 4 เดือน สาขาการพยาบาลควบคุมการติดเชื้อ รพ.รามาธิบดี  มีอายุรแพทย์เป็นประธานคณะกรรมการฯ , เภสัชกร , เทคนิคการแพทย์ , ฝ่ายการพยาบาล , พยาบาลห้องผ่าตัด   และมีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการไว้ และมีอนุกรรมการย่อยซึ่งเป็นตัวแทนจากทุกหน่วยงานในการดำเนินงาน โดยมีพยาบาลควบคุมการติดเชื้อเป็นผู้กำกับดูแล






โครงสร้างองค์กรการบริหารงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล


กล่องข้อความ: หอผู้ป่วยชั้น 5กล่องข้อความ: พยาบาลควบคุมการติดเชื้อกล่องข้อความ: คณะอนุกรรมการ IC.กล่องข้อความ: ผอ.รพ.รร.จปร.
ประธานศูนย์พัฒนาคุณภาพรพ.กล่องข้อความ: คณะกรรมการ IC.กล่องข้อความ: แผนกพยาบาล 

กล่องข้อความ: กองศัลยกรรมกล่องข้อความ: กองอายุรกรรมกล่องข้อความ: งานสนับสนุน
- สูทกรรม
-  ซักรีด
- โรงเก็บขยะ
- เวชกรรมฯ
กล่องข้อความ: ห้องฉุกเฉินกล่องข้อความ: ห้องผ่าตัดกล่องข้อความ: ห้องทำลายเชื้อกล่องข้อความ: กองตรวจโรคผู้ป่วยนอก













โครงสร้างขององค์กร


กล่องข้อความ: คณะทำงานเฝ้าระวังและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล
-  ประกอบด้วยดังนี้
Ø หัวหน้าพยาบาล
Ø หัวหน้าหอผู้ป่วย
Ø ICWN.
Ø ตัวแทนจากทุกหน่วยงาน
Ø ICN.กล่องข้อความ: คณะกรรมการดำเนินงานการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล
-  ประกอบด้วยตัวแทนจากหน่วยงาน ดังนี้
Ø แพทย์
Ø พยาบาล
Ø เภสัชกร
Ø นักเทคนิคการแพทย์
Ø เวชกรรมป้องกัน
Ø ICN.กล่องข้อความ: ประธานคณะกรรมการ IC.กล่องข้อความ: ผอ.รพ.รร.จปร.
ประธานศูนย์พัฒนาคุณภาพรพ. 

























คณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในรพ. มีหน้าที่ดังนี้
                1.  เสนอปัญหาและแนวทางแก้ไขเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลแก่คณะ
                  กรรมการฝ่ายบริหาร
                2.  เป็นแกนนำในการประสานกับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของแต่ละหน่วยที่เกี่ยวข้อง 
                   เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ และนโยบายของโรงพยาบาล
                3.  กำหนดมาตรฐาน / ควบคุมคุณภาพและร่วมดำเนินการเฝ้าระวัง
                                3.1.  การป้องกันการติดเชื้อและแพร่กระจายเชื้อในผู้ป่วย
                                3.2.  การป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโรคในยา /สารน้ำ / น้ำยาทำลายเชื้อและ
                                    เครื่องมือที่ปราศจากเชื้อ
3.3.    การทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อ
3.4.    การจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล ได้แก่ ระบบบำบัดน้ำเสีย น้ำดื่ม-น้ำใช้และการจัดการขยะติดเชื้อ
4.       ร่วมดำเนินการสอบสวนและควบคุมการระบาดของเชื้อโรคในหน่วยงานของ รพ.
5.       ดำเนินการเฝ้าระวังการติดเชื้อในเจ้าหน้าที่
5.1.     การตรวจสุขภาพประจำปีของเจ้าหน้าที่โดยดำเนินการร่วมกับ HPH
5.2.     การเฝ้าระวังการเกิดอุบัติเหตุในเจ้าหน้าที่ขณะปฏิบัติงาน

ICWN
 
Hospitalwide
 
การเฝ้าระวังในโรงพยาบาล

Targeted ( SSI ,CAUTI , Phlebitis )
 
IPD
 
Prevalence survey
 


OPD
 
ER
 
ผู้ป่วย
 
บุคลากรรพ. (Work – related  infection, Accident & Needle stick injury )
 และ Accident&Needle strick
 
การเฝ้าระวัง
ในรพ.
 
หลังจำหน่าย
 
OPD
 
สิ่งแวดล้อม (  Water  supply , Contamination of  disinfectant , waste product )
 
                                


ขั้นตอนการดำเนินงานการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล

                                        


กล่องข้อความ: -  แพทย์
-  ICWN/RN
-  ICN       


กล่องข้อความ: รวบรวม/ วิเคราะห์/ แปลผล/ทำรายงาน /เผยแพร่และ นำเสนอข้อมูล   
กล่องข้อความ: ระบาดกล่องข้อความ: วางแผนกำหนดแนวทางหรือมาตรการกล่องข้อความ: ผู้ป่วยจำหน่าย  
กล่องข้อความ: ติดตามที่ OPD ,  Re- admit , ER ,โทรศัพท์
      
2.  กระบวนการสำคัญ (  Key  Processes)
กระบวนการสำคัญ
(Key  Processes)
สิ่งที่คาดหวังจากกระบวนการ ( Process Requirement )
ตัวชี้วัดที่สำคัญ
( Performance Indicator)
 การเฝ้าระวังการติดเชื้อของผู้ป่วยในโรงพยาบาล
-  เฝ้าระวังการติดเชื้อแบบ Hospital wide และ Target  surveillance โดยกำหนดตัวชี้วัด ดังนี้
 1.1.  ผู้ป่วยที่ได้รับการสอดใส่อุปกรณ์เข้าสู่ร่างกาย ได้แก่
-  ป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ
- ป้องกันการเกิด Phlebitis จากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
- ป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือดจาก
1.1.ประสิทธิภาพของระบบการเฝ้าระวังการติดเชื้อ
1.2.  อัตราความชุกของการติดเชื้อในโรงพยาบาล
 1.3.อัตราการติดเชื้อในรพ.
   - การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะ
   - อัตราการเกิด Phlebitis


กระบวนการสำคัญ
(Key  Processes)
สิ่งที่คาดหวังจากกระบวนการ ( Process Requirement )
ตัวชี้วัดที่สำคัญ
( Performance Indicator)

การใส่สายสวนเข้าหลอดเลือด ( Double lumen )ในผู้ป่วยไตวาย

1.2.  เฝ้าระวังการติดชื้อที่แผลผ่าตัด
1.3. การเฝ้าระวังการติดเชื้อในผู้ป่วยหลังจำหน่าย
-  อัตราการติดเชื้อในกระแสโลหิตในผู้ป่วยที่คาสายสวนหลอดเลือดดำ( Double lumen catheter )
- อัตราการติดเชื้อที่แผลผ่าตัด
- อัตราการเกิดการติดเชื้อหลังผู้ป่วยจำหน่าย
การเฝ้าระวังและดูแลสุขภาพของ
บุคลากร
1.  การเฝ้าระวังและการดูแลสุขภาพของ
บุคลากรร่วมกับ HPH ได้แก่
   -  การส่งเสริมสุขภาพ

   -  การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

   -  การป้องกันการติดเชื้อขณะปฏิบัติงาน   

   - การป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและบาดเจ็บจากการทำงาน
   - การให้ความรู้ด้านการป้องกันการติดเชื้อ โดยจัดอบรมให้ความรู้ให้ครอบคลุมทุกระดับ 


-  อัตราการตรวจสุขภาพประจำปีของบุคลากร
-  อัตราบุคลากรได้รับภูมิคุ้มกันโรคตามความเสี่ยงของงาน
- อุบัติการณ์การติดเชื้อของบุคลากรขณะปฏิบัติงาน
-อุบัติการณ์การเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน
- จำนวนครั้งของการจัดอบรมให้ความรู้ด้าน IC.

การเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อม
1. การเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมโดยประสาน
งานหน่วยที่รับผิดชอบ  ได้แก่ เวชกรรมป้องกัน , ส่งกำลัง ,คณะกรรมการ ENV.และห้องทำลายเชื้อ ได้แก่
-  ระบบบำบัดน้ำเสีย
-  คุณภาพน้ำดื่ม /น้ำใช้
- การทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อของเครื่องมือแพทย์




-  ผ่านค่ามาตรฐานกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
-  ประสิทธิภาพการทำให้ปราศจากเชื้อ



2.       ตัวชี้วัดการดำเนินงาน ( Performance Indicator)
ตัวชี้วัด
เป้าหมาย
ระดับที่ปฏิบัติได้
ปีงบประมาณ 2551
1 ต.ค50 - 30ก.ย51
ปีงบประมาณ 2552
1ต.ค51- 30ก.ย 52
ปีงบประมาณ 2553
1 ต.ค 52 - 30 พ.ค53
1. ประสิทธิภาพของระบบการเฝ้าระวังการติดเชื้อ
> 80%
85 %
80 %
100 %
2. อัตราความชุกของการติดเชื้อในรพ.
0 %
0 %
0 %
0 %
3. อัตราการติดเชื้อในรพ.ครั้งต่อ1000วันนอน
< 5 ครั้งต่อ1000 วันนอน
1.17
ครั้งต่อ1000 วันนอน
1.47
ครั้งต่อ1000 วันนอน
1.31
ครั้งต่อ1000 วันนอน
4. อัตราการติดเชื้อในแผลผ่าตัด
0 %
0 %
2.06 %
4 / 194 ราย
0.62 %
1 / 162 ราย
5. การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะ
0 ครั้ง/1000วันคาสายสวนฯ
9.70 ครั้ง/1000วันคาสายสวนฯ
( 2 /  206 วันคาสายฯ )
0 ครั้ง/1000วันคาสายสวนฯ
( 0 / 135วันคาสายฯ )
 6.45 ครั้ง/ 1000วันคาสายสวนฯ
( 1 / 155 วันคาสายฯ )
6. อัตราการเกิด Phlebitis
0 %
ไม่ได้
เก็บข้อมูล
0.24 %
Phlebitis  2 คน
ให้IV 828 คน
0.16  %
Phlebitis 1 คน
ให้IV 621 คน
7. ประสิทธิภาพการทำให้ปราศจากเชื้อของเครื่องนึ่งทำลายเชื้อ
100 %
100 %
100 %
100 %
8. การตรวจสุขภาพของบุคลากรทุกปี
100 %
99.13 %
99.87 %
รอตรวจ ก.ค. 53
9. อัตราบุคลากรได้รับภูมิคุ้มกันโรคตามความเสี่ยงของงาน
-  วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี


-  วัคซีนไข้หวัดใหญ่


- 100 %


- 100 %


- 100 %


- 100 %


-


-  88 %


- ให้เพิ่มเติมในรายPost sharp injuryที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรค
-  89 %
10. อุบัติการณ์เกิดอุบัติเหตุเข็มตำ /สัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งในบุคลากรโรงพยาบาล
0 ราย
6 ราย
4 ราย
4 ราย
11. อุบัติการณ์การเจ็บป่วยของบุคลากรด้วยโรคติดต่อขณะปฏิบัติงาน ( วัณโรค , สุกใส ,หัด )
0 ราย
วัณโรค
2 ราย
( แพทย์ 1 PN 1)
ไม่มี
ไม่มี
12. ค่าที่น้ำจากระบบบำบัดน้ำเสียผ่านเกณฑ์มาตรฐาน   ทุก 4 เดือน
ผ่านเกณฑ์
ผ่าน
ผ่าน
ผ่าน
ตัวชี้วัด
ป้าหมาย
ระดับที่ปฏิบัติได้
ปีงบประมาณ 2551
1 ต.ค50 - 30ก.ย51
ปีงบประมาณ 2552
1ต.ค51- 30ก.ย 52
ปีงบประมาณ 2553
1 ต.ค 52 - 30 พ.ค53
13. จำนวนครั้งที่น้ำดื่ม-น้ำใช้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน   ทุก 4 เดือน
ผ่านเกณฑ์
ผ่าน
ผ่าน
ผ่าน

4.  กระบวนการหรือระบบงานเพื่อบรรลุเป้าหมายและมีคุณภาพ
        4.1.  การพัฒนาคุณภาพที่เสร็จสิ้นแล้ว
1.  ระบบการทำลายเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อ
1.1.   มีการประกันคุณภาพการปราศจากเชื้อของยา/สารน้ำ/น้ำยาทำลายเชื้อตามแนวทางกำหนด
         อายุการใช้งานของคณะกรรมการ IC. กำหนด ผลการเพาะเชื้อ = No  growth
1.2.  มีคู่มือแนวทางการทำลายเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อสำหรับเครื่องมือแพทย์ประจำ
        ทุกหน่วยงาน
1.3. มีการพัฒนาการลดต้นทุนแต่ไม่ลดคุณภาพ ได้แก่  การยกเลิกระบบการแช่อุปกรณ์ที่
       ปนเปื้อนด้วยน้ำยาทำลายเชื้อก่อนนำเครื่องมือไปทำให้ปราศจากเชื้อ โดยใช้สาร Detergent  
        แทน และจัดหา /เน้นย้ำการใส่เครื่องป้องกันร่างกายในการล้างอุปกรณ์ของเจ้าหน้าที่
1.4. นำข้อมูลการ Re- sterile มาวิเคราะห์ ว่าอุปกรณ์ชนิดใดมีการใช้งานน้อย แต่มีความ
        จำเป็นต้องมีใช้ตลอดเวลา  เปลี่ยนจากการห่อด้วยผ้า ซึ่งมีอายุการใช้งาน 14 วัน เปลี่ยนมา  
        Pack ด้วยซอง Peel  pouch แทน เพื่อยืดอายุการใช้งาน ซึ่งมีอายุการใช้งาน นาน 6 เดือน
1.5.  ปรับเปลี่ยนการใช้หม้อก๊อสและสำลี แบบหม้อกลาง และกระปุกสำลีแอลกอฮอล์ ในบางหน่วยงาน ใช้ เป็นแบบ Packing  single  use  เพื่อลดการใช้ Tranfers  forceps
1.6.  การปรับเปลี่ยนการใช้ 0.9 % NSS มาใช้แทน Savlon 1: 100 ในการสวนปัสสาวะ โดยนำ Evidence  Base มาใช้

                2. ระบบการจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อ
2.1. การบริหารจัดการขยะติดเชื้อ เดิมให้หน่วยงานจัดเก็บและนำส่งเอง ปรับเปลี่ยน คือ
       หน่วยงานจัดเก็บและกำหนดจุดพักขยะติดเชื้อในหน่วยงาน และให้มีผู้รับผิดชอบเฉพาะใน
       การขนย้ายขยะติดเชื้อ  กำหนดเวลาและเส้นทางในการขนย้ายชัดเจน เน้นย้ำการใส่เครื่อง
       ป้องกันเจ้าหน้าที่ที่จัดเก็บขยะ มีการประเมินผลย้อนกลับจากผู้จัดเก็บให้หน่วยงาน ปรับปรุง
      และแก้ไข
2.2.  หน่วยงานที่มีขยะติดเชื้อแบบเปียกและน้ำมากได้แก่ ห้องฉุกเฉิน  โดยร่วมกับห้องฉุกเฉิน
       คัดแยกขยะแบบน้ำ ทำให้น้ำหนักขยะติดเชื้อลดลงและสามารถเผาทำลายได้ง่ายขึ้น

2.3.  จัดหาและกำหนดมาตรการทิ้งของมีคมติดเชื้อลงในภาชนะที่แข็งแรงของมีคมไม่สามารถแทงทะลุได้ ( Sharp  protex )
2.4.  ปรับปรุงคู่มือปฏิบัติในการคัดแยกขยะ  การจัดเก็บแต่ละประเภท  โดยหน่วยงานประเมินตนเองทุกเดือน และ  ICN ตรวจประเมินเพื่อให้ข้อมูลย้อนกลับ

3.       การเฝ้าระวังการติดเชื้อในรพ. เริ่มมีการเฝ้าระวังการติดเชื้อ แบบ Hospitalwide  และTargeted Surviellance และมีระบบเฝ้าระวังในผู้ป่วยหลังจำหน่าย  โดยดำเนินการเฝ้าระวัง ได้แก่
3.1.  ในตำแหน่งแผลผ่าตัด SSI
3.2.   การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ CAUTI
3.3.   Phlebitis  จากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
3.4.   CABSI ในผู้ป่วยใส่ DLC ( เฉพาะผู้ป่วยกลุ่มมีการล้างไต )

4.       การเฝ้าระวังและการดูแลสุขภาพของบุคลากร
4.1.  มีระบบการดูแลสุขภาพบุคลากรร่วมกับ HPH  ได้แก่  การตรวจร่างกายประจำปี , การส่งเสริมภูมิคุ้มกันโรค
4.2.  การป้องกันการติดเชื้อจากการปฏิบัติงาน ได้แก่  วัณโรค   สุกใส  หัด
4.3.  เจ้าหน้าที่เกิดอุบัติเหตุสัมผัสเลือด/สารคัดหลั่งของผู้ป่วย ขณะปฏิบัติงานได้รับการติดตามภาวะสุขภาพทุกราย ผล เจ้าหน้าที่ไม่มีการติดเชื้อจากการเกิดอุบัติเหตุ
4.4.  การจัดหาและสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันร่างกายที่มีประสิทธิภาพให้กับบุคลากร
-  จัดหา Surgical mask สนับสนุนเพียงพอในช่วงที่มีการระบาดของไข้หวัดเมื่อปลายปี 2552
4.5.  การวางระบบ Isolation  Precautions ครอบคลุมเจ้าหน้าที่ทุกระดับและผู้ป่วย
-   ผู้ป่วยนอก จัดทำห้องตรวจแยกโรคเฉพาะผู้ป่วยที่มีการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศมีระบบ
    บริการ One  stop  service ณ จุดห้องตรวจแยกโรค
-  มีการจัดห้องตรวจผู้ป่วยโรคเรื้อรังแยกจากห้องตรวจผู้ป่วยกลุ่มโรคติดเชื้อระบบทางเดิน
  หายใจโดยนำไปตรวจที่ห้องฉุกเฉิน  เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสู่กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
ส่งผลให้ไม่เกิดการระบาดของไข้หวัดในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง
-  ผู้ป่วยใน มีการจัดห้องผู้ป่วยแยกโรคชัดเจน  มีการสวมเครื่องป้องกันที่เหมาะสม ทำให้
     บุคลากรไม่มีการติดเชื้อโรควัณโรค  สุกใสและ หัด จากการปฏิบัติงาน
4.6.  การให้ความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อ โดยจัดอบรมให้ความรู้ให้ครอบคลุมทุกระดับ
5.       การเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อม
5.1.  ประสานงานคณะกรรมการ ENV ดูแลคุณภาพระบบบำบัดน้ำเสีย และคุณภาพน้ำดื่ม-น้ำใช้ให้ผ่านคุณภาพมาตรฐาน ทุก 4 เดือน
5.2.  ร่วมกับงานซักรีดในการประเมินการบริหารจัดการผ้าเปื้อน
5.3.  ร่วมกับห้องทำลายเชื้อเฝ้าระวังประสิทธิภาพการทำให้ปราศจากเชื้อของเครื่องมือแพทย์
5.4.  ห้องตรวจโรคเป็นห้องปรับอากาศ  จากการสำรวจพบว่าด้านบนเหนือฝ้าเพดานมีนกพิราบมาอาศัยจำนวนมากทำให้มีมูลนกมาก เป็นแหล่งของเชื้อโรค  ซึ่งจะสะสมและแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้ป่วยและบุคลากรที่ปฏิบัติงาน   ได้ดำเนินการทำความสะอาดและจัดทำตาข่ายกันนกเหนือฝ้า  ยังไม่พบบุคลากรหรือผู้ป่วยติดเชื้อโรคจากมูลนกพิราบ

4.2. การพัฒนาคุณภาพที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ
การพัฒนาคุณภาพ
กิจกรรมพัฒนาคุณภาพ
ตัวชี้วัด
1. การพัฒนาเป็นศูนย์จ่ายกลางรพ.
- ปรับปรุงโครงสร้างและระบบงานเป็นศูนย์จ่ายกลางของรพ. สามารถรับอุปกรณ์และเครื่องมือทุกชนิด
-  จำนวนเครื่องมือจัดเตรียมโดยหน่วยจ่ายกลาง > 90%
2.  พัฒนาระบบการรายงาน
    เฝ้าระวัง
-  ICN สุ่มตรวจประเมินผลการเฝ้าระวังทุกสัปดาห์
- โทรแจ้ง ICN เมื่อพบว่าสงสัยมีการติดเชื้อ
-  Lab  Surviellance จากห้องปฏิบัติการ ได้แก่ เชื้อดื้อยา และโรคติดต่อ ( TB )
-  ประสิทธิภาพการเฝ้าระวังการติดเชื้อรายเดือน
3. พัฒนาการวินิจฉัยการติดเชื้อในรพ.
-  จัดทำคู่มือเกณฑ์วินิจฉัยการติดเชื้อให้กระทัดรัดเข้าใจง่าย และสะดวกต่อการใช้งาน
-  อัตราการวินิจฉัยการติดเชื้อในรพ.ได้ถูกต้อง

5.  แผนพัฒนาต่อเนื่อง

วัตถุประสงค์
ตัวชี้วัด
ระยะเวลา
1. โครงการรณรงค์ ล้างมือถูกต้อง สวมเครื่องป้องกันปลอดภัย  ใส่ใจคัดแยกขยะ

- เพื่อป้องกันการติดเชื้อและแพร่กระจายเชื้อในรพ.
- อัตราบุคลากรผ่านการทดสอบล้างมือ > 80 %

 มิ.ย.53
2.  การพัฒนาศักยภาพของ ICWN
- เพื่อเพิ่มศักยภาพของ ICWN



- จำนวน ICWN ที่ได้รับการอบรมเป็นระยะเวลา
2 สัปดาห์ ครบทุกคน
เลื่อนไปปีหน้าเนื่องจากระยะเวลาการอบรมไม่ตรงกับแผนงาน
โครงการ/งาน
วัตถุประสงค์
ตัวชี้วัด
ระยะเวลา
3. โครงการสร้างเสริมภุมิคุ้มกันโรคแก่บุคลากร
-  เพื่อส่งเสริมสุขภาพแก่
บุคลากร
-  การเจ็บป่วยจากโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ลดลง
ต.ค.52 – ก.ย.53
4.  ปรับย้ายห้องตรวจแยกผู้ป่วยของห้องตรวจโรค
- เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
-  การดำเนินงานบรรลุตามแผนที่กำหนดไว้
อนุมัติแล้วรอดำเนินการก่อสร้าง
5. พัฒนาการบริหารจัดการขยะติดเชื้อ
-  เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
- อัตราการคัดแยกขยะติดเชื้อได้ถูกต้อง
ต.ค.52 – ก.ย.53
7.  พัฒนาความรู้ด้านการป้องกันการติดเชื้อในบุคลากรทุกระดับ
- เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อและป้องกันการติดเชื้อจากการปฏิบัติงาน
- จำนวนครั้งการจัดอบรมให้ความรู้ด้านการป้องกันการติดเชื้อ
ต.ค.52 – ก.ย.53
8. พัฒนาระบบ 5 ส.
-เพื่อให้มีการหมุนเวียนการใช้ทรัพยากรให้เหมาะสมลดค่าใช้จ่าย
-  จำนวนครั้งที่ตรวจพบการใช้ยา /เวชภัณฑ์และเครื่องมือที่ปราศจากเชื้อหมดอายุค้างในหน่วยงาน

ต.ค.52 – ก.ย.53


                   -------------------------------------------------------------------