วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

GAP analysis

Gap Analysis - S 1 : SSI Prevention

Recommendation
Actual Practice
Desired Practice
Action Plan
1. สำหรับผู้ป่วย elective surgery ให้ค้นหาและรักษาการติดเชื้อทุกอย่างที่เกิดขึ้นห่างจากตำแหน่งที่จะผ่าตัด และเลื่อนการผ่าตัดไปจนกว่าการติดเชื้อจะหมดไป
 - ยังมีการค้นหาและรักษาการติดเชื้อไม่ครอบคลุม

-  แนวทางการปฏิบัติในผู้ป่วยทุกรายที่จะทำการผ่าตัด ต้องได้รับการประเมินภาวะติดเชื้อทุกระบบในร่างกาย ก่อนผ่าตัดทุกราย
- ประสานองค์กรแพทย์แจ้งให้แพทย์ที่ทำผ่าตัดทุกท่านทราบ
- เฝ้าระวังการติดเชื้อในแผลผ่าตัดทุกเดือน
- ส่งข้อมูลการติดเชื้อให้องค์กรแพทย์ทราบผ่านระบบรายงานความเสี่ยงของรพ.
2. ไม่กำจัดขนก่อนผ่าตัด ยกเว้นว่าขนที่บริเวณผ่าตัดจะรบกวนต่อการทำผ่าตัด  ถ้าต้องกำจัดขน ให้ทำทันทีก่อนผ่าตัด และควรใช้ electric clipper
-  มีการกำจัดขนก่อนผ่าตัดที่หอผู้ป่วย
-  แพทย์สั่งการรักษาให้มีการโกนขนก่อนผ่าตัดเป็น Routine Pre- op
- มีการใช้ใบมีดโกนแบบธรรมดาในการโกนขนก่อนผ่าตัด
- ไม่โกนขนก่อนผ่าตัดเป็น Routine
Pre- op ทุกรายที่หอผู้ป่วย
- หากต้องมีการโกนขนก่อนผ่าตัดให้ปฏิบัติทันทีก่อนผ่าตัด โดยปฏิบัติที่ห้องผ่าตัด
-ใช้ Electric clipper ในการโกนขนทุกราย
- แจ้งองค์กรพยาบาล เพื่อให้ส่วนที่เกี่ยวข้องได้แก่ หอผู้ป่วย , ห้องฉุกเฉิน และห้องผ่าตัด  ได้รับทราบในการปฏิบัติเรื่องการโกนขนก่อนผ่าตัดเป็นแนวทางเดียวกัน
- เสนอความต้องการจัดหา Electric  clipper ไว้ประจำที่ ห้องผ่าตัด
3. ให้ prophylactic antibiotic เฉพาะเมื่อมีข้อบ่งชี้ โดยเลือกให้เหมาะสมกับเชื้อที่มักจะพบบ่อยสำหรับการผ่าตัดนั้นๆ  โดยให้ทางหลอดเลือดดำในเวลาที่ทำให้มีระดับยาในซีรั่มและเนื้อเยื่อสูงพอสำหรับกำจัดเชื้อโรค (bactericidal concentration) เมื่อขณะลงมีดผ่าตัด  ให้รักษา therapeutic level ของยาไว้ตลอดการผ่าตัด
- กรณีผ่าตัดทางกระดูกและข้อ และผ่าตัดทั่วไปแพทย์จะให้ยา prophylactic antibiotic  ทุกรายที่มีการผ่าตัดเหมาะสมกับเชื้อที่พบบ่อยสำหรับการผ่าตัดนั้นๆ และให้หลังจากผ่าตัด
                                          
-
- ติดตามอัตราการติดเชื้อในแผลผ่าตัดทุก  
  เดือน


Gap Analysis - S 1: SSI Prevention

Recommendation
Actual Practice
Desired Practice
Action Plan
และหลังผ่าตัดเสร็จสิ้นอีก 2-3 ชั่วโมง  สำหรับการผ่าตัดคลอดที่มีความเสี่ยงสูง จะให้ antibiotic ทันทีหลังจาก clamp สายสะดือ
- กรณีผ่าตัดคลอดทั่วไปได้แก่ Previous Cesarian  Section จะไม่ให้ antibiotic ก่อนผ่าตัด
- กรณีผ่าตัดคลอดที่มีความเสี่ยงสูงได้แก่ น้ำเดิน หรือสงสัยว่ามีการติดเชื้อ แพทย์จะพิจารณาให้ ยา antibiotic ทันทีหลังจาก Clamp สายสะดือทุกราย
-  พยาบาลวิสัญญีเป็นผู้ให้ยา antibiotic ก่อนผ่าตัดทั่วไป ไม่เกิน 30 นาที ก่อนลงมีดผ่าตัด และในกรณีผ่าตัดคลอดจะให้ antibiotic ทันทีหลังจาก clamp สายสะดือ

- ไม่มี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น