วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553


รายงานการประชุมคณะอนุกรรมการ IC. รพ.รร.จปร.

ครั้งที่   1/53
วันที่ 11 ก.พ.53 เวลา 13.30-15.30 น.
      ณ ห้องประชุมชั้น 6 รพ. รร. จปร.

ผู้เข้าร่วมประชุม

 หอผู้ป่วยใน  1. พ.ต.หญิง ประภาพร  โกศัยสุนทร
                      2. ร.อ. หญิงสุรดา     รัตนวิเศษ   
                         3. คุณ  วรรณิสา  บัวสาย
ห้องฉุกเฉิน   1. คุณ เสาวนีย์   สังฆธรรม
ห้องตรวจโรคผู้ป่วยนอก    1. จ.ส.อ. หญิง วิไลลักษณ์    ปาจันทร์
ห้องพยาธิ      1. พ.ท. จักรกฤษณ์  โมรา
เภสัชกรรม    1. ร.ท.หญิง พจนา  รวยลาภ
กายภาพ         1. จ.ส.อ. อนุรักษ์   แจ้งจิตต์
ส่งกำลัง         1. คุณจำนงค์    กุหลาบ
ห้องทำลายเชื้อและห้องผ่าตัด   1.  จ.ส.อ. ทินภัทร   ลอยเลิศ
แผนกทันตกรรม   1.จ.ส.อ พงษ์พันธ์  ทะวิจิตร
แผนกการเงินและพลาธิการ    1.  จ.ส.อ. ศรีจันทร์   หมั่นสมบัติ
หน่วยงานที่ไม่เข้าร่วมประชุม 
                1. สูทกรรม
              2. ห้องฝังเข็ม
              3. ห้องเอกซเรย์
              4.  หมวดพลเสนารักษ์
              5. เวชระเบียน
              6. HPH
              7.แผนกเก็บเงินรายรับ
                8.กอ.และธุรการกำลังพล
เริ่มประชุมเวลา 13.30 น.
วาระที่  1  ประธานกล่าวเปิดประชุม
เรื่องแจ้งให้ทราบ    1.  การเฝ้าระวังการติดเชื้อจะมีการเปลี่ยนแปลงตามวิธีคิด มุมมองวิสัยทัศน์ตามยุคสมัยที่เปลี่ยน เน้นให้ปฏิบัติตาม  Practice guideline   แนวทางการบันทึก และมาตรฐานวิชาชีพซึ่งพบว่ายังมีการปฏิบัติที่ยังไม่ได้ตามมาตรฐาน
 2. สรุปผลการติดเชื้อและแนวทางการปฏิบัติ
                                2.1.  ปี 2551 พบติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะมากที่สุด
                                2.2. ปี 2552 พบการติดเชื้อตำแหน่งแผลผ่าตัดมากที่สุดและยังพบอุบัติเหตุสัมผัสสาร
                                  คัดหลั่งฯของผู้ป่วยจากการทำงาน  จำนวน 7 ราย
                                2.3. ปี 2553  ตั้งแต่ต.ค.52 - ปัจจุบัน พบการติดเชื้อจากการคาสายสวนและผู้ป่วย  
                                  เสียชีวิต
               3. ผลจากการติดเชื้อในรพ.ปี 2552 ทำให้ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลนานขึ้นและทำให้โรงพยาบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยดังกล่าวสูงมาก
                4.  แนวทางการแก้ไขที่สำคัญให้แต่ละหน่วยโดยเฉพาะหน่วยรักษาพยาบาลเคร่งครัดการปฏิบัติตามมาตราน ที่ IC กำหนด โดยเน้นเรื่อง
 4.1.  การล้างมือ  ขอให้ทุกหน่วยงาน สำรวจอุปกรณ์เกี่ยวกับการล้างมือ ได้แก่  ผ้าเช็ดมือ
  ภาชนะสำหรับใส่น้ำยาล้างมือและปริมาณน้ำยาให้เพียงพอ และวันหมดอายุของน้ำยา    ล้างมือ  และ  สังเกตพฤติกรรมการล้างมือ
                4.2. ห้องผ่าตัด -  ทบทวนเรื่องการติดเชื้อที่ตำแหน่งแผลผ่าตัด
                   -  ทบทวนเรื่องการแต่งกายของเจ้าหน้าที่ในแต่ละโซนโดยเฉพาะในโซน    Sterile ให้เปลี่ยนชุดทุกคน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ห้องผ่าตัดห้ามใส่ชุดในห้องผ่าตัดออกมานอกห้อง 
                   -  ทบทวนเรื่องระยะเวลาการใช้ยาฆ่าเชื้อก่อนแพทย์ลงมีด
             5. ทบทวนเรื่องการรายงานเมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับอุบัติเหตุถูกของมีคมขณะปฏิบัติงาน
             6. ห้องตรวจโรคและห้องฉุกเฉิน -  แจ้ง ICN ทุกครั้งเมื่อพบการติดเชื้อตำแหน่งแผลผ่าตัด 
             7.  ห้องฉุกเฉิน -  พบว่ายังมีการใช้ Set ทำแผลซ้ำ ขอให้ทบทวนเรื่องการทำแผลใช้เพียง 1 set  ต่อ  1 คน     
             8.หอผู้ป่วยใน
8.1. ทบทวนเรื่องการใส่สายสวนปัสสาวะและการดูแลผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะ
                                8.2. ทบทวนเรื่อง CR-BSI  Prevention  และ IV Care
                                8.3.  ทบทวนเรื่องการทำแผลและการดูแลแผลผ่าตัด
                                8.4.  ทบทวนเรื่องอายุการใช้งานของน้ำยาฆ่าเชื้อและ Set Sterile  
              8.5. สังเกตพฤติกรรมการล้างมือ และการใส่เครื่องป้องกันให้เหมาะสมของเจ้าหน้าที่ทุกระดับ ตั้งแต่พนักงานจนถึงแพทย์
9.       นอกจากนี้ที่สำคัญให้ทุกหน่วยทบทวนระบบ 5 ส. โดยเฉพาะการดูแลสิ่งแวดล้อมภายใน
       โรงพยาบาลให้สะอาด
วาระที่  2   รับรองการประชุมครั้งที่แล้ว ( ไม่มี )
วาระที่ 3   ทบทวนกิจกรรมที่ 6  เรื่องการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล ประเด็นทบทวนที่สำคัญได้แก่อุบัติการณ์การติดเชื้อ Target Surveillance  (เป้าหมายการเฝ้าระวังกลุ่ม),  Hospital  Associated  Infection (HAI) ,อุบัติเหตุการติดเชื้อจากการทำงาน  , เชื้อดื้อยา MRSA, MDR , ESBL  การไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน IC  ,  การทบทวนการปฏิบัติโดยใช้ Evidence  base ใหม่
3.1.  Target   Surveillance  (กลุ่มเป้าหมายที่ต้องเฝ้าระวัง )ซึ่งเป็นกลุ่มที่เกิดอุบัติการณ์การติดเชื้อในโรงพยาบาลปี 2552   ได้แก่
                                 1. ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทุกราย
                                 2. ผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะทุกราย
                                 3. กลุ่มผู้ป่วยที่ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
4.   ส่วนกลุ่มอื่นให้ดูแลโดยภาพรวม
ตัวอย่างแบบฟอร์มการรายงาน  ( ตามตัวอย่างที่แนบมาด้วย )
วันเดือนปี
อุบัติการณ์การติดเชื้อที่สำคัญ
วิเคราะห์เหตุการณ์สำคัญ
การปรับปรุงการปฏิบัติที่เหมาะสม
วันที่พบ
-ใส่เลขที่ใบอุบัติการณ์ความเสี่ยง เขียนแล้วอ่านให้เข้าใจ

เน้นย้ำความรู้ การตรวจสอบและการประเมิน
ให้ทุกหน่วยทำรายงานทบทวนกิจกรรมที่ 6  และนำเสนอผลงาน ในการประชุมอนุกรรมการ IC ครั้งต่อไป
วาระที่  4  -  วาระอื่นๆ   -  สอบถามเรื่องนัดการประชุมประจำเดือนของอนุกรรมการ IC
วาระที่  5  -  นัดหมายการประชุม
5.1.    คณะกรรมการ IC ให้ประชุมทุกวันศุกร์สัปดาห์ที่ 3 ทุก 2 เดือน ( เดือน คู่ )
5.2.    คณะอนุกรรมการ IC ให้ประชุมทุกวันอังคาร สัปดาห์ที่ 1 ของทุกเดือน
5.3.  กำหนดประชุมครั้งต่อไป วันอังคารที่ 2 มีนาคม 2553 เวลา 13.30 น.   ห้องประชุมชั้น 6
     โดยกำหนดหัวข้อการประชุมและให้ทุกหน่วยงาน เตรียมเอกสารการประชุม   ดังนี้
5.3.1.  ทุกหน่วยงานเตรียมข้อมูลความเสี่ยงด้าน IC  ที่นำกิจกรรมที่  6 มาใช้เป็นเครื่องมือในการทบทวนและพร้อมชี้แจงในที่ประชุมฯ
5.3.2.  เตรียมคู่มือมาตรฐาน IC
5.3.3. เตรียมข้อมูลการจัดหาอุปกรณ์สำหรับการล้างมือ

ปิดประชุมเวลา 15.30 น.

                                                                                                                ร.อ.หญิง  สุรดา  รัตนวิเศษ    
                                                                                                                      ผู้บันทึกการประชุม

                                                                                       ตรวจถูกต้อง
                                                                                                    พ.ท.หญิง  วาสิฏฐี     พุทธานนท์
                                                                                                                    ( วาสิฏฐี   พุธทานนท์  )               
                                                                                            พยาบาลควบคุมโรคติดเชื้อ รพ.รร.จปร.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น